พิธีการทางศุลกากร

ผลการดำเนินงาน

โครงการพัฒนาด่านศุลกากรสะเดา

สถานที่ท่องเที่ยว


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :
ด่านศุลกากรสะเดา ต.สำนักขาม อ.สะเดา จ.สงขลา 90320
หมายเลขโทรศัพท์ 0-7439-8816-7
email : 75120000@customs.go.th

พิธีการนำเข้า

พิธีการศุลกากรนําเข้าทางบก

ในการนําเข้าสินค้า ผู้นําเข้าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และประกาศที่กรมศุลกากรและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กําหนดไว้ให้ถูกต้องครบถ้วน โดยมีคําแนะนําในการจัดเตรียมเอกสาร และปฏิบัติตามขั้นตอนพิธีการศุลกากรในการนําเข้าสินค้า ดังนี้

  1. ใบขนสินค้าขาเข้าและเอกสารอื่นที่ให้ใช้แทนใบขนสินค้าขาเข้า
  2. แบบพิมพ์ที่กรมศุลกากรกําหนดให้ผู้นําเข้าใช้สําหรับพิธีการศุลกากร ดังนี้
    1. ใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค้าเพิ่ม (กศก. 99/1) สําหรับการนําเข้าสินค้าทั่วไปทุกประเภท ยกเว้นสินค้าที่กรมศุลกากรกําหนดให้ใช้ใบขนฯ ประเภทอื่น
    2. คําร้องขอผ่อนผันรับของ/ส่งของออกไปก่อน (กศก. 103) ใช้สําหรับการนําเข้าหรือส่งออกสินค้าก่อนปฏิบัติพิธีการครบถ้วนตามที่กรมศุลกากรกําหนด
    3. แบบ A.T.A. Carnet ใบขนสินค้าสําหรับนําของเข้าหรือส่งของออกชั่คราว ใช้สําหรับการนําเข้าหรือส่งออกสินค้าชั่วคราวประเภทต่าง ๆ ตามที่ระบุในอนุสัญญา
    4. แบบ JDA (Joint Development Area) ใบขนสินค้าสําหรับพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียใช้สําหรับการนําเข้าสินค้าในเขตพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย
    5. ใบขนสินค้าถ่ายลํา (ใบแนบ 9)(แบบที่ 379) ใช้สําหรับพิธีการศุลกากรสินค้าถ่ายลํา
    6. ใบขนสินค้าผ่านแดน (แบบที่ 448) ใช้สําหรับพิธีการศุลกากรสินค้าผ่านแดนตามความตกลงที่ประเทศไทยทําไว้กับประเทศต่างๆ
    7. ใบขนสินค้าพิเศษสําหรับรถยนต์และจักรยานยนต์นําเข้าหรือส่งออกชั่วคราว ใช้สําหรับการนํารถยนต์และจักรยานยนต์เข้ามาในประเทศหรือส่งออกชั่วคราว
    8. ใบขนสินค้าพิเศษสําหรับเรือสําราญและกีฬาที่นําเข้าหรือส่งออกชั่วคราว ใช้สําหรับการนําเรือสําราญและกีฬาเข้ามาในประเทศหรือส่งออกชั่วคราว
  3. เอกสารที่ใช้เป็นข้อมูลในการจัดทําใบขนสินค้าขาเข้า
    1. ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading : B/L หรือ Air Waybill : AWB )
    2. บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
    3. เอกสารอย่างอื่น หมายถึง เอกสารหรือคําสําแดงเกี่ยวกับการนําเข้าหรือการซื้อขายซึ่งผู้ขายหรือผู้ส่งของที่อยู่ต่างประเทศทําขึ้นและส่งมาให้หรือซึ่งสําแดงการเสนอและสนองในการซื้อขายของหรือเอกสารการติดต่อระหว่างผู้ส่งของและผู้นําของเข้าหรือของผู้ที่เกี่ยวข้องในการนําของเข้า เช่น ผู้รับบรรทุก ผู้รับประกันภัยธนาคาร เป็นต้น
    4. ใบอนุญาตนําเข้าหรือเอกสารอื่นใด กรณีที่ของนําเข้านั้นเป็นของต้องกํากัดตามเงื่อนไขของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
    5. กรณีนําเข้าเภสัชเคมีภัณฑ์ เภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสําเร็จรูป เคมีภัณฑ์ และสินค้าที่ไม่สามารถแยกชนิดและคุณภาพได้โดยง่าย ควรมีเอกสารใบรับรองการวิเคราะห์ของผู้ผลิตสินค้า (Certificate of Analysis) หรือเอกสาร รายละเอียดของสินค้า (Specification) หรือเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Material Safety Data Sheet)
  4. การส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อปฏิบัติพิธีการนําเข้าสินค้า
    1. การปฏิบัติพิธีการศุลกากร ผู้ได้รับอนุมัติให้ลงทะเบียนเป็นผู้ปฏิบัติพิธีการศุลกากรหรือดําเนินการในกระบวนการทางศุลกากรโดยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถปฏิบัติพิธีการได้โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์พร้อมลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) ของเจ้าของลายมือชื่อผ่านบุคคลที่เป็นสื่อกลางผู้ให้บริการรับส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานที่ศุลกากรกําหนด (ebXML/XML Format) แทนการจัดทํา ยื่น ส่ง รับ และการลงลายมือชื่อในรูปแบบเอกสาร
    2. การยื่นใบขนสินค้าขาเข้า เมื่อผู้นําของเข้าจัดทําข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าตามมาตรฐานที่ศุลกากรกําหนด และเป็นผู้ส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรได้ตอบรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นในการปฏิบัติพิธีการ ถือเป็นการยื่นเอกสารนั้นๆ ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากรแล้ว
    3. วิธีการส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า การส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้ากระทําได้ 4 ช่องทาง ดังนี้
      1. ผู้นําของเข้าส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าด้วยตนเอง
      2. ผู้นําของเข้ามอบหมายให้ตัวแทนออกของ (Customs Broker) เป็นผู้ส่งข้อมูลแทน
      3. ผู้นําของเข้าให้เคาน์เตอร์บริการ (Service Counter) เป็นผู้ส่งข้อมูล
      4. ผู้นําของเข้ายื่นใบขนสินค้าขาเข้าในรูปแบบเอกสาร พร้อมเอกสารประกอบและแบบรายละเอียดข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า (ใบนําคีย์) และชําระค่าธรรมเนียมกับเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ท่าหรือที่ที่นําของเข้าโดยผู้นําของเข้าต้องลงลายมือชื่อไว้ทุกฉบับ ซึ่งประกอบด้วย
        1. - ใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมคู่ฉบับ 1 ฉบับ
          - แบบรายละเอียดข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้า (ใบนําคีย์)
          - สําเนาใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading หรือ Air Waybill)
          - สําเนาบัญชีราคาสินค้า (Invoice)
          - บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List) (ถ้ามี)
          - ใบแจ้งยอดเบี้ยประกัน (Insurance Premium Invoice) (ถ้ามี)
          - ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสําหรับของควบคุมการนําเข้า (ถ้ามี)
          - ใบรับรองแหล่งกําเนิดสินค้า (Certificate of Origin) (กรณีขอลดอัตราอากร)
          - เอกสารที่จําเป็นอื่นๆ เช่น เอกสารแสดงส่วนผสม คุณลักษณะ การใช้งานของสินค้า Catalogue
  5. การชําระภาษีอากร
    1. ชําระโดยผ่านธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีตัดบัญชีธนาคาร (Electronic Funds Transfer : EFT)
    2. ชําระที่หน่วยงานบัญชีและอากรของสํานักงานศุลกากรหรือด่านศุลกากร

การนําเข้าสินค้าทางบก ณ ด่านพรมแดน หรือด่านตรวจ
ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการศุลกากร
  1. ผู้นําเข้า/ตัวแทนออกของยื่นบัญชีสินค้าทางบก Car Manifest (แบบ ศ.บ. 1) ให้เจ้าหน้าที่ศุลกากร ประจําด่านพรมแดน เพื่อดําเนินการตรวจสอบสินค้า และทะเบียนรถยนต์
  2. เจ้าหน้าที่ศุลกากรบันทึกข้อมูลรายละเอียด แบบ ศ.บ. 1 ลงในระบบคอมพิวเตอร์ (Car Manifest) และดําเนินการควบคุมยานพาหนะที่บรรทุกสินค้าเข้ามายังด่านศุลกากร
  3. ผู้นําเข้าหรือตัวแทน จัดทําและส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าเข้าระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร ระบบจะตรวจสอบข้อมูลสินค้าและตัดบัญชีกับ Car Manifest
  4. ผู้นําเข้าหรือตัวแทนฯ ชําระค่าภาษีอากร (กรณีสินค้าต้องชําระภาษีอากร) ที่หน่วยงานบัญชีและอากรของด่านศุลกากร
  5. ชําระค่าภาษีแล้วระบบคอมพิวเตอร์จะกําหนดเงื่อนไขการตรวจปล่อย ชื่อเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ตรวจปล่อย
    1. กรณียกเว้นการตรวจ (Green Line) ผู้นําเข้าหรือตัวแทนออกของสามารถรับสินค้าไปจากอารักขาศุลกากร
    2. กรณีสั่งการเปิดตรวจ (Red Line) เจ้าหน้าที่จะดําเนินการตรวจสอบความถูกต้องของสินค้ากับข้อมูลใบขนสินค้าในระบบคอมพิวเตอร์ ถ้าถูกต้องตามสําแดงจะส่งมอบสินค้าให้ผู้นําเข้าหรือตัวแทนรับสินค้าไปจากอารักขาศุลกากร

การนำรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวผ่านด่านพรมแดนทางบก

การพิจารณาออกใบอนุญาต (หรือยกเว้นใบอนุญาต) นำรถเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตลอดจนเงื่อนไขในการอนุญาต เช่น เอกสารประกอบการพิจารณา ประเภทรถที่จะอนุญาต หรือเส้นทางในการใช้รถเป็นไปตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด

1.หลักการ

ผู้เดินทางหรือนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร โดยยานพาหนะที่จดทะเบียนต่างประเทศผ่านด่านพรมแดนทางบก?สามารถปฏิบัติพิธีการศุลกากรโดยการจัดทำใบขนสินค้าพิเศษเพื่อนำยานพาหนะดังกล่าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ณ ที่ทำการของเจ้าหน้าที่ศุลกากรบริเวณด่านพรมแดนทางบก และจะต้องนำยานพาหนะนั้นกลับออกไปภายในระยะเวลาที่กำหนด*

2.เอกสาร/หลักฐานประกอบการจัดทำใบขนสินค้าพิเศษ

2.1 เอกสารทะเบียนรถหรือเอกสารอื่นที่น่าเชื่อถือ และในกรณีผู้เดินทางมิได้เป็นเจ้าของรถ จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของรถที่แสดงเจตนาอนุญาตให้ผู้เดินทางนำยานพาหนะนั้นเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว

2.2 หนังสือเดินทาง (Passport)?ของผู้เดินทางที่ประสงค์จะนำยานพาหนะเข้ามาในราชอาณาจักรที่ผ่านการประทับตราตรวจคนเข้าเมืองแล้ว (กรณีผู้เดินทางมีสัญชาติไทยให้ยื่นเอกสารหลักฐานรับรองถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ หรือการประกอบอาชีพในต่างประเทศ หรือการสมรสกับคู่สมรสต่างประเทศ หรือการศึกษาอยู่ในต่างประเทศ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาด้วย)

2.3 หนังสืออนุญาตนำรถเข้ามาใช้ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวซึ่งออกโดยกรมการขนส่งทางบก**

ยกเว้น?

  2.3.1 รถของประเทศที่มีความตกลงด้านการขนส่งทางถนน ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ และ สปป. ลาว

  2.3.2 รถประจำถิ่น คือ รถของประเทศที่ไม่มีความตกลงด้านการขนส่งทางถนน อันได้แก่ กัมพูชา และเมียนมา ซึ่งได้นำรถเข้าออกทางจุดผ่านแดนทางบกเพื่อกิจธุระเป็นประจำ เช่น ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค การรักษาพยาบาล การศึกษา เป็นต้น

  2.3.3 รถที่นำเข้ามาตามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศนั้น

3.?ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการ

3.1 ผู้เดินทางนำยานพาหนะที่ประสงค์จะนำเข้าชั่วคราวพร้อมเอกสารตามข้อ 2. มาติดต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ด่านพรมแดนทางบก เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ

3.2 เมื่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรได้ตรวจสอบแล้ว หากเห็นว่าครบถ้วนถูกต้องจะทำการบันทึกข้อมูลและออกใบขนสินค้าพิเศษสำหรับยานพาหนะที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว แล้วมอบให้ผู้เดินทางเก็บไว้เป็นหลักฐาน

3.3 ผู้เดินทางจะต้องนำยานพาหนะที่ได้นำเข้ามานั้น กลับออกไปภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยเมื่อผู้เดินทางเดินทางมายังด่านพรมแดนทางบก (ไม่ว่าจะเป็นด่านพรมแดนเดียวกับที่ได้นำยานพาหนะเข้ามาหรือไม่ก็ตาม) จะต้องนำยานพาหนะพร้อมใบขนสินค้าพิเศษที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรได้มอบไว้ให้ในข้อ 3.2 มอบแก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรเพื่อตรวจสอบ

3.4 เมื่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสอบแล้ว หากพบว่ายานพาหนะที่จะนำกลับออกไปนั้นถูกต้องตรงกับรายละเอียดในใบขนสินค้าพิเศษที่ได้จัดทำไว้ในข้อ 3.2 และไม่เกินระยะเวลาที่กำหนด ก็จะอนุญาตให้ยานพาหนะนั้นผ่านด่านพรมแดนเพื่อกลับออกไปนอกราชอาณาจักร แต่หากพบว่าการนำเข้ามาเกินระยะเวลาที่กำหนด จะทำการเปรียบเทียบปรับวันละ 1,000 บาท นับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดแต่รวมแล้วไม่เกิน 10,000 บาท

กรณีที่พบว่ายานพานะที่จะนำกลับออกไปไม่ถูกต้องตรงตามใบขนสินค้าพิเศษที่ได้จัดทำไว้หรือผู้เดินทางมีเจตนาที่จะไม่นำยานพาหนะกลับออกไป กรมศุลกากรจะดำเนินการสืบสวนและติดตามตัวผู้เดินทางมาดำเนินการทางกฎหมายต่อไป


หมายเหตุ

*ระยะเวลาที่กำหนด ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขระยะเวลาที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะพิจารณาอนุญาตให้ผู้เดินทางที่ถือหนังสือเดินทางสัญชาติใดสามารถพำนักอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลาเท่าใด

**หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการขออนุญาตเป็นไปตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.dlt.go.th



 

วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 17 มิถุนายน 2563 12:58:13
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ด่านศุลกากรสะเดา
ต.สำนักขาม อ.สะเดา จ.สงขลา 90320
หมายเลขโทรศัพท์ : 0-7439-8816-7
อีเมล์ : 75120000@customs.go.th

ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้ อยู่ภายใต้ประกาศเงื่อนไขการใช้ข้อมูล และลิขสิทธิ์ ของด่านศุลกากรสะเดา - สำนักงานศุลกากรภาคที่ 4
ลิขสิทธิ์ 2015 ด่านศุลกากรสะเดา สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด @ออกแบบและพัฒนาโดยส่วนประมวลผลและคลังข้อมูล สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมศุลการ